วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

สมัครพ้นสภาพนายกสมัคร

วิบากกรรมชายชราชื่อ"สมัคร"..
นายสมัคร เมื่อมิได้เป็นนายกฯแล้วก็มีสภาพเป็นเพียงชายชราคนหนึ่งที่จู้จี้ขี้บ่น จุกจิกขี้โมโห ต้องผจญกับวิบากกรรมที่ตัวเองก่อไว้อีกหลายเรื่องคือ คดีหมิ่นประมาท นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ และคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง กทม.มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาทการเลื่อนประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อเช้าวันที่ 12 กันยายน ออกไปเป็นเช้าวันพุธที่ 17 กันยายน 2551 เนื่องจาก ส.ส.พรรคพลังประชาชน(พปช.)บางกลุ่ม และพรรคร่วมรัฐบาลไม่เข้าร่วมประชุมทำให้องค์ประชุมไม่ครบนั้น มีข้อน่าสังเกตบางประการดังนี้
หนึ่ง
เป็นการสอนบทเรียนแก่นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและ ส.ส.กลุ่มเพื่อเนวิน ซึ่งดื้อด้านเต็มไปด้วยมิจฉาทิฐิจะเสนอนายสมัครเป็นนายกฯอีกครั้งหนึ่งโดยไม่ฟังเสียงต่อต้านคัดค้านจากประชาชน นักวิชาการ นักธุรกิจและกลุ่มองค์กรต่างๆอย่างกว้างขวาง กลุ่มที่คัดค้านเกรงว่า ถ้านายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีกจะสร้างความแตกแยกขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรงและนำความหายนะมาสู่ระบบเศรษฐกิจและการเมืองได้
สอง เห็นธาตุแท้ของนักการเมืองบางกลุ่มบางพรรคโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์และพรรคชาติไทย
โดยพรรคประชาธิปัตย์ฉวยโอกาสเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ แม้จะรู้ว่าไม่มีทางได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง(236 เสียงขึ้นไป) แต่ก็เพื่อฟลุ๊คว่า ถ้าภายใน 30 วันยังไม่สามารถลงมติเลือกบุคคลอื่นเป็นนายกฯได้ด้วยเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง นายอภิสิทธิ์ก็จะได้เป็นนายกฯทันที(รัฐธรรมนูญมาตรา 173) ทั้งที่ๆก่อนหน้านี้ พรรคชาติไทยได้ตกลงกับแกนนำประชาธิปัตย์บางคนว่า จะไม่เข้าร่วมประชุมสภาเพื่อเพื่อสกัดมิให้นายสมัครกลับมาเป็นนายกฯอีก ทั้งๆที่พรรคชาติไทยอ้างว่า มีมติหนุนพปช. แต่พรรคประชาธิปัตย์เปลี่ยนท่าทีในนาทีสุดท้าย โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาเป็นผู้ลงชื่อเข้าร่วมประชุมคนแรกๆของพรรค การกระทำของประชาธิปัตย์ทำให้พรรคชาติไทยมองว่า ประชาธิปัตย์หักหลัง "ส่วนอีกพรรคหนึ่งไม่ต้องพูด ถึงคิดว่าหวานคอแร้ง มั่นใจว่าจะได้เป็นนายกฯ แน่ เกมต่อเกมก็ต้องแก้เกมกัน แต่ตอนนี้มันก็จบแล้ว"เป็นหนึ่งในวลีของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยที่กล่าวถึงประชาธิปัตย์แสดงให้เห็นความรู้สึกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามแกนนำประชาธิปัตย์อ้างว่า ทำตามกติกาและหน้าที่และเสนอชื่อนายกฯตามสิทธิของพรรคฝ่ายค้าน สำหรับนายสมัคร เมื่อมิได้เป็นนายกฯแล้วก็มีสภาพเป็นเพียงชายชราคนหนึ่งที่จู้จี้ขี้บ่น จุกจิกขี้โมโห ต้องผจญกับวิบากกรรมที่ตัวเองก่อไว้อีกหลายเรื่องคือ คดีหมิ่นประมาท นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการ กทม. และการไต่สวนของป.ป.ช.คดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง กทม.มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาทสมัยที่นายสมัคร เป็นผู้ว่าราชการ กทม.แม้คดีหมิ่นประมาทเมื่อเทียบกับคดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงฯแล้วเบากว่ามาก แต่เป็นคดีที่นายสมัครต้องลุ้นตัวโก่งเพราะศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในวันที่ 25 กันยายนหรืออีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ คดีดังกล่าว นายสมัครและนายดุสิต ศิริวรรณ อดีต รมต.ประจำสำนักนายกฯ คู่หูตกเป็นจำเลยเพราะกล่าวหาว่า นายสามารถ มีพฤติการณ์ทุจริตในการก่อสร้างโครงการสะพานของ กทม. 16 โครงการ ซึ่งศาลอาญาพิพากษาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 ให้จำคุกจำเลยทั้งสอง รวม 4 กระทง กระทงละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ก่อนหน้านี้ นายสมัครได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนอ่านคำพิพากษาโดย อ้างว่า ต้องเดินทางไปประชุมสหประชาชาติที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาในวันที่ 21 กันายนในฐานะนายกฯ แต่เมื่อนายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯแล้ว จึงไม่รู้ว่า ศาลอาญา จะยอมเลื่อนอ่านคำพิพากษาหรือไม่ ประเด็นที่น่าสนใจคือ ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกนายสมัคร 24 เดือน โอกาสที่นายสมัคร จะต้องถูกจำคุกมีอยู่สูง แม้นายสมัครจะยืนยันว่า สามารถอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยให้อัยการสูงสุดลงนามรับรองให้อุทธรณ์คดีต่อศาลฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้( ป.วิอาญา มาตรา 221บัญญัติว่า ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้....อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่า มีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป) อย่างไรก็ตามคดีนี้ เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่นายสามารถฟ้องนายสมัครโดยตรง พนักงานอัยการมิได้เกี่ยวข้อง ถ้านายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุดยอมลงนามรับรองให้ จะทำให้เกิดข้อครหาว่า อัยการสูงสุดต้องการช่วยเหลือนายสมัครเป็นการส่วนตัว นอกจากนั้นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ออกระเบียบที่ประชุมใหญ่ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 ว่า ให้ศาลฎีกาอาจไม่รับคดีที่อุทธรณ์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ ถ้าเห็นว่า การอุทธร์ดังกล่าวไม่เป็นสาระอันควรแก่แก่การพิจารณาไว้ในการพิจารณาพิพากษา(ระเบียบที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการไม่รับคดีซึ่งข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์หรือฎีกาจะไม่เป็นสาระอันควรแก่การพิจารณาไว้พิจารณาพิพากษา พ.ศ.2551) ดังนั้น ถ้าดูจากคดีหมิ่นประมาทของนายสมัครและนายดุสิตแล้วเห็นว่า ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อนทั้งในเรื่องข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแต่อย่างใด รวมทั้งคำพิพากษามีมีเหตุมีผลชัดเจน การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนถึง 2 ศาล อาจเข้าเงื่อนไขที่ศาลฎีกาอาจไไม่รับคดีไว้พิจารณาได้ ดังนั้น ถ้าศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ ก็หมายความว่า นายสมัครต้องถูกจำคุกทันที ต้องหลุดจากตำแหน่ง ส.ส.ด้วย นับเป็นกรรมของชายชราที่ชอบสาบถสาบานจนติดเป็นนิสัยและอาจเห็นผลของคำสาบานในบั้นปลายของชีวิต

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

แล้วตอนเย็นละสมัครไปไหน

สมัครบินไปอุดรฯแล้ว ไร้วี่แววกังวลคดีชิมไปบ่นไป

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม
ได้เดินทางไปเป็นประธานการประชุมอาเซียนเลคเชอร์ 2008 ที่กระทรวงการต่างประเทศ
พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ " อาเซียน : ศักราชใหม่ เพื่อประชาชน ”

ซึ่งการประชุมดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมในการที่ประเทศไทย

จะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมอาเซี่ยนซัมมิทกลางเดือนธันวาคมนี้

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้อยู่ร่วมงานดังกล่าวนานกว่า 45 นาที

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ร่วมงานนายสมัคร ไม่ได้มีท่าทีเคร่งเครียดแต่อย่างใด
และยังได้ร่วมร้องเพลงไทยเดิมกับวงดนตรีไทยเดิมให้ทูตและผู้ร่วมงานได้ฟังด้วย
โดยนายกรัฐมนตรีร้องเพลงไทยเดิมทำนองเทพทอง และมีเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี
เมื่อเวลา 16.10 น. นายสมัครปฏิเสธที่จะตอบคำถามผู้สื่อข่าวกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นัดวินิจฉัยกรณีการจัดรายการชิมไปบ่นไป และรายการยกโขยง 6 โมงเช้า ในวันที่ 9 ก.ย.นี้
โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า" แล้วแต่ศาล ” จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เดินทาง
ออกจากกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อไปขึ้นเครื่องบิน เดินทางไป จ.อุดรธานี

“หอกหัก” โกหกคำโต! ยันไม่ใช่ลูกจ้างชิมไปฯ แค่รับเบี้ยเลี้ยงเป็นครั้งคราว






นายกฯ เข้าให้ปากคำคดี “ชิมไปบ่นไป” ตามคำร้องของวุฒิสมาชิก บิดเบือนต่อหน้าตุลาการ อ้างไม่ได้รับเงินเดือน แต่ได้รับค่าตอบแทนเป็นครั้งคราว จึงไม่ถือเป็นลูกจ้าง ตะแบงยันหลังรับตำแหน่งนายกฯ จัดรายการให้ฟรีๆ

วันนี้(8 ก.ย.)ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเวลา 09.30 น.คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มี นายชัช ชลวร เป็นประธานได้ออกนั่งบัลลังก์ ไต่สวนพยานผู้ถูกร้องในคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา ส.ว.สรรหาและคณะส.ว. รวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นพิธีกรดำเนินรายการ "ชิมไปบ่นไป" ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และมาตรา 267 ประกอบ 182 วรรคสาม และมาตรา 91 โดยพยานผู้ถูกร้องมี 2 ปากคือ นายศักดิ์ชัย แก้วมณีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด และนายสมัคร ทั้งนี้ นายสมัคร ได้ขึ้นให้การโดยระบุว่า ได้เริ่มทำรายการ ชิมไปบ่นไป ตั้งแต่ปี 2543 โดยบริษัท เฟซมีเดีย จำกัด ได้มาชวนให้เป็นพิธีกร หลังจากนั้นก็ทำมาตอลด จนกระทั่งรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


ในวันที่ 6 ก.พ. 2551 และหลังจากนั้นก็ได้บันทึกเทปรายการดังกล่าว 2-3 ครั้ง ซึ่งการบันทึกเทปครั้งหนึ่งก็สามารถนำไปออกอากาศได้ 1 เดือน โดยตนไม่ได้เรียกร้องค่าตอบแทน และไม่ได้รับค่าตอบแทนแต่อย่างใด นายสมัคร ให้การว่า ทางบริษัทได้จ่ายค่าน้ำมันและค่ากับข้าวให้กับคนขับรถของตน ซึ่งรายละเอียดนั้น เขาจะนำไปใช้จ่ายอย่างไรตนไม่ทราบ และหลังจากที่มีคนทักท้วงว่า อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตนก็ไม่ทำรายการดังกล่าวอีก โดยบอกให้รายการหาพิธีกรมาแทน แต่ที่ทำอยู่เพราะทนายบอกว่า เนื่องจากเป็นการรับจ้างไม่ใช่ลูกจ้าง จนกระทั่งมีข่าวลงตามหนังสือพิมพ์ ตนก็สั่งระงับการออกอากาศทันที รวมทั้งให้เก็บเทปบันทึกรายการ กลัวสถานีนำไปออกอากาศซ้ำอีก นายสมัคร ได้กล่าวสาบานว่า "ถ้าผมผิดจริง อย่าให้ผมมีความเจริญ แต่ถ้าไม่ได้ทำผิด ก็ขอให้ผมได้รับความสุขความเจริญ" เป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างขึ้นให้การต่อศาลนั้นนายสมัคร ได้มีท่าทีในการตอบคำซักถามของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.ระบบสรรหา ผู้ที่ร้องเรียนเรื่องดังกล่าวอย่างแข็งกร้าว พร้อมกับได้ยอกย้อนตอบคำถามเป็นบางคำถามอย่างดุดัน ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า
ภายหลังจากนายสมัคร ให้การต่อผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้ว ทางองค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้สอบถามในประเด็นที่ยังสงสัย เพื่อต้องการให้พยานยืนยัน หรือ ปฎิเสธ
โดยศาลได้สอบถามนายสมัครว่านขับรถได้แจ้งพยานเกี่ยวกับเรื่องค่าตอบแทน หรือไม่ และคนขับรถได้นำเงินไปใช้ในเรื่องใดบ้าง
นายสมัครตอบว่า ไม่ทราบและไม่รู้ว่านำไปใช้เรื่องใด โดยนายสมัครจะอธิบายเกี่ยวกับคนขับรถ
ศาลได้ติงว่า ไม่จำเป็นต้องนำประเด็นข้อกฎหมาย มาหักล้างข้อเท็จจริง
นอกจากนั้น ระหว่างที่ศาลถาม และยังถามไม่จบ
นายสมัคร พยายามพูดแทรกออกมา
ศาลต้องติงว่า ขอให้ฟังคำถามให้จบก่อน ทำให้นายสมัคร ถึงกับแสดงอาการไม่พอใจ
ศาลได้ถามอีกว่า หลังเกิดเป็นคดีขึ้น พยาน(นายสมัคร)ได้ไปอัดเทปรายการที่บ้านของพยานและไม่ยอมให้สื่อมวลชนทำข่าว ใช่หรือไม่
นายสมัคร ตอบว่า ใช่ โดยอ้างว่า ไม่ต้องการให้วุ่นวายและตัดเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคนขับรถ
โดยศาลถามว่า หลังจากอัดรายการที่บ้านแล้ว คนขับรถยังได้รับค่าตอบแทนอยู่หรือไม่
นายสมัคร ตอบว่า ใช่ เนื่องจากเป็นเรื่องที่คนขับรถต้องใช้จ่าย แต่ไม่เกี่ยวกับตน อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ศาลได้สอบถาม เกี่ยวกับพยานเอกสารที่ได้จากการถอดเทปรายการ สนทนาประสาสมัคร เพื่อให้พยานยืนยันว่า เป็นเอกสารที่ถูกต้องหรือไม่
พยานได้ถามศาลว่า แล้วมาเกี่ยวอะไรกับคดีนี้
ศาลแจ้งว่า เนื่องจาก พยานได้พูดเป็นข้อเท็จจริงในรายการเกี่ยวกับคดีนี้ไว้ จึงจำเป็นต้องนำมาประกอบการพิจารณา ทำให้นายสมัครทำเสียง อือ อือ และมีอาการไม่พอใจ ศาลยังได้ถามถึงเรื่อง ภาพโลโก้ รูปผู้ชายที่มีลักษณะจมูกรูปชมพู่
โดยศาลถามว่า เป็นรูปของพยานใช่หรือไม่
นายสมัคร ตอบว่าใช่ และอธิบายว่า เป็นรูปของตนที่คนทั้งประเทศรับรู้มาตั้งหลายปีแล้ว
จนกระทั่งนายสมัครให้การเสร็จเมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. นายสมัคร ได้ขออนุญาตศาลออกจากห้องพิจารณาคดีเพื่อไปปฏิบัติภารกิจทันที และขึ้นรถออกไปจากศาลรัฐธรรมนูญอย่างรวดเร็ว
อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/Politics

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551